โลหะหนักภัยร้ายใกล้ตัว (2)

ปัจจุบันทุกคนมีโอกาสรับโลหะหนักได้จากมลพิษ น้ำ อาหาร ดิน หรือสิ่งของใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเราทราบถึงภัยจากโลหะหนักไปแล้ว เราควรมีการตรวจให้รู้สภาวะสุขภาพของตัวเองบ้าง เพื่อจะได้มีสุขภาพที่สมบูรณ์และสมดุลนานๆ

การตรวจหาสารโลหะหนักจากปัสสาวะด้วยวิธี Mass Spectrometry

1. เป็นเทคนิคที่มีความไว (Sensitivity) สูงมาก จึงสามารถตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุในระดับต่ำได้
2. เป็น Multi-Elemental Analysis คือสามารถตรวจวิเคราะห์ธาตุได้พร้อมกันทีหลายธาตุในการตรวจ 1 ครั้ง
3. ในการตรวจวิเคราะห์ใช้ Commercial Calibrator ที่เป็น Matrix ชนิดเดียวกันกับตัวอย่างเพื่อทำ Calibrator Curve สำหรับหาปริมาณสาร
4. ในการตรวจวิเคราะห์ใช้ Commercial Samples ที่เป็น Matrix ชนิดเดียวกันกับตัวอย่าง เพื่อควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ (IQC)

โลหะหนักที่ตรวจวัด 9 ชนิด ได้แก่ สารหนู (Arsenic)  ปรอท (Mercury)  ตะกั่ว (Lead)  แคดเมียม (Cadmium)  โครเมี่ยม (Cromium)  โคบอลท์ (Cobalt)  แมงกานิส (Manganese)  นิเกิล (Nickle)  อลูมิเนียม (Aluminium) ใช้เวลาในการรอผลตรวจ 15 วัน

การทำคีเลชั่น
คือการให้สารน้ำทางหลอดเลือดที่มีสารประกอบประภทกรดอมิโน เช่น EDTA ผสมวิตามินและแร่ธาตุ โดย EDTA จะทำหน้าที่จับโลหะหนักที่ตกค้างในเนื้อเยื่อผนังหลอดเลือด และขจัดออกจากร่างกายปัสสาวะ หรืออาจให้สารเหล่านี้ทางการเหน็บทวารหรือการรับประทาน

คีเลชั่นเหมาะกับ
- ผู้มีความเสี่ยงต่อการรับสารโลหะหนัก
- ผู้ที่มีปัญหาพิษโลหะหนักสะสม
- ผู้มีร่างกายอ่อนแอ การไหลเวียนเลือดบกพร่อง เวียนศรีษะบ่อย
- ผู้มีความดันโลหิตสูง เนื่องจากหลอดเลือดแดงไม่ยืดหยุ่น
- โรคแห่งความเสื่อมต่างๆ รวมทั้งภูมิแพ้

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำคีเลชั่น
- ขจัดสารพิษตกค้างในร่างกายและระบบหลอดเลือด
- ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
- ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
- ลดอัตราเสี่ยงของหลอดเลือดแดงอุดตันและตีบแคบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด

ข้อห้าม
1. แพ้ EDTA
2. ตั้งครรภ์
3. มีภาวะไตบกพร่อง
4. การทำหน้าที่ของตับไตผิดปกติ
5. อยู่ระหว่างการล้างไต





ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม