โลหะหนักภัยร้ายใกล้ตัว (1)


เมื่องช่วงเทศกาลวันพ่อ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปทำคีเลชั่นมาด้วยค่ะ อ้าว แล้วคีเลชั่น คืออะไรล่ะ บางคนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน งั้นมารู้จักกันเลยค่ะ

หากคุณมีอาการแบบนี้
-ชาปลายมือปลายเท้า
-กระสับกระส่าย กระวนกระวาย ขี้กังวล
-มีผื่นผิวหนัง
-มีการกระตุกของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
-เป็นตะคริวบ่อยๆ
-อ่อนเพลียเรื้อรัง
-ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ
-ขี้ลืม
-มีอาการคันที่ผิวหนัง

หากคุณมีอาการเหล่านี้และมีโอกาสสัมผัสสารโลหะหนัก ลองปรึกษาแพทย์และตรวจโลหะหนักดูบ้างนะคะ เนื่องจากโลหะหนักอยู่รายล้อมรอบตัวเรา เกี่ยวข้องกับตัวเราตั้งแต่เกิด เมื่อเราได้รับและสะสมอย่างไม่รู้ตัว จะส่งผลต่อสุขภาพของเรา ทำให้เราเกิดอาการต่างๆได้แบบไม่ทราบสาเหตุ และไม่มีวิธีใดที่สามารถกำจัดออกจากร่างกายเราได้ นอกจากการทำคีเลชั่นบำบัด

คีเลชั่น (Chelation) เป็นศาสตร์การแพทย์ทางเลือก ที่นำมาใช้ในการขับสารพิษโลหะหนักออกไปจากร่างกาย เช่น สารตะกั่ว สารปรอท สารหนู และสารโลหะที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแต่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็น เช่น ธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี เป็นต้น นอกจากจะก่อให้เกิดการอักเสบในบริเวณที่สะสมแล้ว ยังเป็นตัวการสำคัญที่เหนี่ยวนำให้เกิดสารอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกาย 

ดังนั้น การใช้ขบวนการ คีเลชั่นบำบัด จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยลดปัญหาและภาวะดังกล่าว 

และภาวะคีเลชั่นบำบัด หมายถึง การกำจัดสารโลหะหนักออกจากร่างกาย เพื่อบำบัดภาวะผิดปกติทางสุขภาพที่สัมพันธ์กับการสะสมและตกค้างของสารโลหะหนักแบบเรื้อรัง

อ้าวแล้วอยู่ดีๆทำไมต้องกำจัดสารโลหะหนักออกไปล่ะ (อาจมีคนสงสัย) งั้นตามผู้เขียนมาอ่านตรงนี้ค่ะ

ตะกั่ว (lead)
ตะกั่วเป็นสารโลหะหนัก ที่อาจได้รับจากการสัมผัสจากงานผลิตแบตเตอรี่ การหลอมตะกั่ว การบัดกรี อิเล็คทรอนิกส์ โรงพิมพ์ การผลิตสี อู่ซ่อมรถยนต์ การได้รับในสิ่งแวดล้อม จากการปนเปื้อน ของสารตะกั่วในแหล่งน้้ำา ดิน หรือการปนเปื้อนในอาหาร ฯลฯ ที่มีแนวโน้มมากขึ้น การได้รับสารตะกั่ว
เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็ก หากสัมผัสกับสารตะกั่ว มากกว่า 10 มคก./ดล เป็นเวลานาน ๆ จะมีผลต่อการพัฒนาการทางสมองและเชาว์ปัญญาของเด็ก 

สารหนู (Arsenic) 
สารหนู สารหนูอนินทรีย์ เป็นสารโลหะหนักที่ถูกนํามาใช้ทั้งด้านอุตสาหกรรม และใช้เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรรักษาโรคมานานแล้ว พบว่าอาชีพ ที่เสี่ยงต่อการได้รับพิษสารหนู ได้แก่ อุตสาหกรรมถลุงแร่ การพิมพ์ลายผ้า การทําเครื่องปั้นดินเผา การหลอมและชุบโลหะ การผลิตน้ํายาถนอมเนื้อไม้และการผลิตสารป้องกันกําจัดแมลงศัตรูพืช เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับสารหนูในสิ่งแวดล้อมได้แก่ ผู้ที่ใช้หรือดื่มน้ําที่มีสารหนูปนเปื้อน เกษตรกรที่ใช้สารกําจัดแมลงศัตรูพืชและผู้ที่ใช้ยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของสารหนู เป็นต้น
อาการของพิษสารหนู พบได้ทั้งแบบเรื้อรัง และเฉียบพลัน การได้รับพิษเฉียบพลัน จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร เกิดคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องรุนแรง ท้องเดิน อุจจาระเป็นเลือด อาจหมดสติได้ทันที
อาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการปวดศีรษะ เพ้อคลั่ง สับสน การเคลื่อนไหวช้าลง การได้รับ
พิษต่อเนื่อง จะมีอาการเรื้อรัง ทําให้ผิวหนังกระดํากระด่างเป็นหย่อม ๆ ทั่วตัว ตุ่มแข็งที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
อาการชาตามปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เลือดจางแบบ Anisopokilocytosis เม็ดเลือดขาว มี Toxin granule ตับโตและเป็นมะเร็งผิวหนัง หรืออวัยวะภายในได้ 

แคดเมียม (Cadmium) 
การได้รับแคดเมียมโดยการหายใจกินอาหาร หรือ ดื่มน้ําที่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียมเข้าสู่ร่างกาย การสะสมของสารแคดเมียมในร่างกาย ทําให้เกิด โรคอิไต-อิไต (Itai- Itai) ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2463 โดยทั่วไปผู้ป่วยพิษแคดเมียมพบในผู้ที่ทํางานที่เกี่ยวข้องและสัมผัสกับสารแคดเมียมจากอุตสาหกรรมการถลุงแร่และผลิตสังกะสี การชุบโลหะการผลิตแบตเตอรี่นิกเกิลและแคดเมียม นอกจากนั้น อาจพบในกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสสารแคดเมียมในสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ที่อาศัย อยู่ใกล้บริเวณที่มีการปนเปื้อนสารแคดเมียม ได้แก่ บริเวณแหล่งถลุงแร่หรือโรงงานผลิตสังกะสีเป็นต้น การเกิดพิษจากแคดเมียม แบบเฉียบพลัน จากการสูดดมสารแคดเมียม จะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด หรือเรียกว่า ไข้ไอโลหะ (Metal fume fever) ทําให้จมูกคอแห้ง ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย ไข้หนาวสั่น เจ็บหน้าอก อาจมีคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน อาจเสียชีวิตจากอาการขาดน้ําและเกลือแร่ หรือไตวายได้ในรายที่มีการสูดดม หรือหายใจเอา ควันไอของแคดเมียม ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ มีผลต่อระบบทางเดินหายใจเกิดถุงลมโป่งพอง หอบเหนื่อย ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกถูกทําลาย ทําให้ปวดกระดูก เดินลําบาก เนื่องจาก กระดูกพรุน และหัก เกิดภาวะไตวาย นิ่ว ทางเดินปัสสาวะและเม็ดเลือดแดงถูกทําลายได้

ปรอท (Mercury)
ปรอทได้ถูกใช้การทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า เป็นตัวทำละลายที่ดีสำหรับโลหะบางชนิด สารละลาย ที่ได้เรียกว่าอะมาลกัม ดีบุกอะมาลกัมใช้ในการทำกระจกเงา เงิน-ดีบุกอะมาลกัมใช้เป็นวัสดุในการอุดฟัน โดยผสมปรอทกับโลหะผมระหว่างเงินกับดีบุก
เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด และยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ซึ่งอันตรายเหล่านี้ เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับดีดังเดิมได้ อาการที่เป็นพิษมากเกิดจากการหายใจ ปอดอักเสบ มีอาการเจ็บหน้าอก มีไข้ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและตายได้

เห็นความน่ากลัวของโลหะหนักแล้วนะคะ



ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา สำนักระบาดวิทยา สำนักการแพทย์ทางเลือก และ Revize Clinic (รีไวซ์ คลินิก) จังหวัดระยอง

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม